วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่างหนังอนิเมชั่นต่างชาติ

ตัวอย่างอนิเมชั่นต่างชาติที่ได้รับความยอดนิยมมากที่สุด

อนิเมชั่นที่ได้รับรางวัลออสการ์ เช่น
1  megamine
2  cloudy meatballs 2
3  the smurfs
4  Dragon
5  Up






ชนิดของอนิเมชั่น

ชนิดของอนิเมชั่น


ชนิดของแอนิเมชั่นสามารถแบ่งออกได้เป็นสามชนิดคือ
           1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ  แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ  สวยงาม  น่าดูชม  แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก  ต้องใช้แอนิเมเตอร์
จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย


             2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่น
หรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง
และยังสามารถผลิตได้หลายตัว  ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน  แต่การทำ Stop Motmotion นั้น
ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาที
ต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก  

         3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่นโปรแกรม Maya, Macromedia
และ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง
Toy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น



 
               
              

ความหมายอนิเมชั่น

ความหมายอนิเมชั่น

     อนิเมชั่น (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

    คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่า
ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้


     แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน  และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉาย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว 
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่มีความต่อเนื่องกัน  แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียว
กับวิดิโอ   แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้มากมาย  เช่น งานภาพยนตร์  งานโทรทัศน์  งานพัฒนาเกมส์  งานสถาปัตย์
งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์  หรืองานพัฒนาเว็บไซต์  เป็นต้น

     สรุปความหมายของแอนิเมชั่นคือ การสร้างสรรค์ลายเส้นรูปทรงต่างๆให้เกิดการเคลื่อนไหวตามความคิดหรือจินตนาการ


อนิเมชั่นฝีมือคนไทย

อนิเมชั่นฝีมือคนไทย

        บัณฑิต สจล. คว้ารางวัลจากมูลนิธิสยามกัมมาจล (Best Content) และรางวัล Best Visual ในการประกวดผลงานแอนิเมชั่นเพื่อสังคม  "Thailand Animator Festival # 2" ที่จัดขึ้น ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา  จากแอนิเมชั่นเรื่อง "วิถีไฟ" (Life of Fire) ที่มีแนวคิดว่า ทำไมคนเราต้องทำทุกอย่างเพื่อ "เงิน"
นางสาวรัชริล หุตังคหบดี หรือ "บี" สาวน้อยมากความสามารถ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชาภาพยนตร์และวีดีโอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  อายุ 23  ปี ปัจจุบันทำงานอยู่ที่  The Monk Studio ในตำแหน่ง Concept  Artist (ออกแบบ)
เป็นอีกหนึ่งเพชรเม็ดงาม ของวงการแอนิเมชั่นไทย ที่ล่าสุดสามารถคว้า 2 รางวัล จากเวทีการประกวดผลงานแอนิเมชั่น "อิสระเพื่อสังคม" ในงาน "Thailand Animator Festival # 2" หรือ TAF # 2  เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์ ได้แก่ รางวัลสยามกัมมาจล (Best Content) และรางวัล Best Visual จาก TAF จากผลงานที่ชื่อว่า "Life of Fire" หรือ  "วิถีไฟ"


Top5 อนิเมชั่น

Top5 อนิเมชั่น














วิธีการสร้างอนิเมชั่น

ขั้นตอนการสร้าง การ์ตูนเคลื่อนใหว(อนิเมชั่น)
บทความประมาณนี้ผมเองก็ได้เขียนไปหลายๆเวปบอร์ดเหมือนกัน แต่ทุกครั้งที่เขียนข้อมูลก็จะแน่นขึ้นเรื่อยๆเพราะงั้นครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ ครั้งสุดท้ายที่เขียน แต่ก็ดีกว่าที่เขียนก่อนหน้า. ทั้งนี้ขั้นตอนหลักๆทั้งหมดก็ใกล้เคียงกัน

อนิเมชั่นคือการนำถาพมาซ้อนกันให้เกินการเคลื่อนใหวขึ้น ส่วนกี่ภาพต่อ 1 วินาทีก็แล้วแต่สตูดิโอกำหนด. หลายๆคนชอบคิดว่าคนที่วาดการ์ตูนได้ก็น่าจะวาดภาพเคลื่อนใหวได้สิ อันนี้เป็นความเชื่อที่ผิด คนที่วาดการ์ตูนไม่จำเป็นต้องวาดภาพเคลื่อนใหวได้ และในทางกลับกัน คนวาด ภาพเคลื่อนใหวก็ไม่จำเป็นต้องวาดการ์ตูนได้เช่นกัน, อยากให้เข้าใจกันใหม่ เหตุผลที่ทำให้เข้าใจผิดเพราะพื้นฐานนั้นเหมือนกัน คือการวาด.
ก่อนที่เราจะมาเริ่มการสร้าง อนิเมชั่น นั้น เราต้องมีการวางแผนก่อน ไม่ว่า เนื้อเรื่อง, เสียง, อุปกร์ณการวาด, โปรแกรม ที่ใช้งานในการตัดต่อ. ทำไมต้องวางแผน ต้องเตรียมการ? หากมีการเตรียมการ จะเป็นการสะดวกทำให้เรารู้ว่าจะทำอะไรต่อเป็นขั้นๆไป
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหนังหรืออนิเมชั่น ต้องรู้ไว้ก่อนเลยว่า ไม่สามารถทำเสร็จในขั้นตอนเดียว โปรแกรมเดียว ต้องมีการนำมาผสมผสานกันด้วย.
1. IDEA - ความคิด แนวคิด
ขั้นตอนแรกในการทำเลยคือ คิด คิดว่าจะทำเรื่องอะไร ทำยังไง จบยังไง น่าสนใจยังไง ขนาดที่จะทำ ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องสนใจเทคนิกในการสร้าง เพียงแค่ระดมความคิดต่างๆเอามารวมกัน แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนทุกอย่าง เขียนแค่ตัว หลักๆ ใว้

2.1 STORY - เนื้อเรื่อง
หลังจากได้แนวความคิดตอนนี้ก็มาเขียนเนื้อเรื่อง โดยเอาแนวคิดหลักๆมาขยายความ ในการเขียนเนื้อเรื่องตอนนี้ก็เหมือนกับเขียนนิยาย คิอไม่ใช่มีแต่เนื้อเรื่อง ต้องมีบทพูดด้วยเช่นกัน ไล่เป็นฉากๆ บทๆ ไป ขั้นตอนนี้ เอกสารจะเป็น แค่ ตัวอัก`ษรเท่านั้น. เพิ่มเติม บ.อนิเมชั่นที่ญี่ปุ่น การนำการ์ตูนเอามาทำอนิเมชั่นเค้าก็เขียนบทขึ้นมาใหม่อีกรอบโดยมี เนื้อเรื่องในการ์ตูนเป็นพื้นฐาน. พอได้เนื้อเรื่องก็จะนำเอามาให้ทีมงานอ่านกันเพื่อแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น คำพูด เนื้อเรื่อง ว่าเหมาะสมกับกลุ่มมั้ย ไม่ใช่สักแต่ว่าเขียนไป.

2.2 STORY BOARD - สตอรี่บอร์ด
นำเนื้อเรื่องที่ทำการเรียบเรียง มาให้ทีมงานอ่านกัน เพื่อเอาไปเขียนสตอรี่บอร์ด, คนที่เขียนสตอรี่บอร์ดไม่จำเป็นต้องมีแค่คนเดียว แบ่งงานเป็น ฉากๆไป. ขั้นตอนนี้นั้น คือการนำเอาเนื้อเรื่องมาวาดเป็นภาพ มาเรียงต่อกันเป็นฉากๆ แล้วเอามาแปะใว้บนที่บอร์ด(ถึงเรียกว่า สตอรี่บอร์ด). แล้วเอามาเขียนมาแก้กันเพิ่มมุมมองฉากใหน แก้มุมใหน ขั้นตอนนี้จะสำคัญเพราะมีผลสืบเนื่องถึงขั้นตอน วาด อนิเมชั่น ถ้าทำไม่ดี จะเป็นปัญหาอย่างมาก.


3 AUDIO and SOUND - เสียง
เมื่อเอาสตอรี่บอร์ดมาเรียงกันเป็นหนังอย่างหยาบๆ (หรือที่คนเรียกกันอย่างหรูว่า อนิเม-ทริก ความละเอียดตรงนี้ขึ้นอยู่กับตอนวาดสตอรี่บอร์ดว่าละเอียดขนาดใหน)แล้วเอามา อัดเสียง ไม่ว่าจะเสียงพาค์ย เสียงเอฟเฟค เสียงฉากหลัง ทำให้หมด. มันจะเป็นการง่ายมาก หากเราทำเสียงแล้ว มาวาดให้ตรงกับเสียง มากกว่า ทำเสียงให้ตรงกับภาพ.


4. ANIMATE - วาดรูปเคลื่อนใหว
เมื่อได้เสียงเราก็นำเสียงมาดูความยาว ตามช่วงเวลา เพื่อนำมาวาด. ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความ อดทน กับ ความมุ่งมั่น ในการทำเพราะเรื่องที่มีความยาว ครึ่งชั่วโมง ก็ต้องวาด 3000 รูปโดยประมาณ. ทั้งนี้ในการวาดในขั้นนี้ ต้องอาศัยการศึกษาและเทคนิกต่างๆ ไม่ว่าจะตัดเส้น ลงสี หรือ การเคลื่อใหวของสถานที่และตัวละคร.

5. EDIT - แก้ไข
หลังจากวาดอนิเมชั่นแล้ว ตัวหนังยังแยกกันเป็นส่วนๆ ในขั้นตอนนี้จะนำมาต่อรวมกัน เพื่อเป็นหนังใหญ่. แล้วต้องนำมาดูกันเพื่อ พิจารณาว่า ทั้งเนื้อเรื่องดูลงตัวมั้ย ต้อง ตัดฉากใหนออก. ในขั้นตอนนี้มีหนังอนิเมชั่นไม่น้อย ที่ต้องตัดออกไป 3-4 ฉาก เพื่อความลงตัว ให้เหมาะสม.

6. FINAL OUTPUT - การผลิดขั้นสุดท้าย
เมื่อ หนัง ทั้งเรื่อง เสร็จเป็นอันที่เรียบร้อยแล้วนั้น ก็สู่การนำไปแสดงหรือเผยแพร่. ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้จัดทำว่าจะเอาไปทำอะไร(ที่คิดใว้ในขั้นตอนที่ 1 แนวคิด) ส่วนมากคือการนำงานไปเสนอตาม บ. ต่างๆเพื่อ นำไป เผยแพร่ หรือ นำไปผลิต ก็ตามแต่ นโยบายของผู้จัดทำ.

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Cartoon Animation

Cartoon Animation


          เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักสร้างภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลองใช้เทคนิคการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนซึ่งกำลังถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างภาพยนตร์การ์ตูนของตนเอง ในทศวรรษที่ 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์การ์ตูนหุ่นยนต์ยักษ์ซึ่งไม่สามารถหาได้ในสหรัฐอเมริกาเลย ในทศวรรษที่ 1980 อะนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอะนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอะนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดอะนิเมะนอกประเทศ

 อย่าง Top 5 เช่น
Toy Story และ Wall-E







   โดยปกติแล้ว การ์ตูนที่เราเคยดูกันนั้น ภาพที่เราได้เห็นว่าตัวละครกำลังขยับนั้น อันที่จริงแล้วเกิดจากการเล่นภาพหลายๆภาพต่อกันอย่างรวดเร็วจนเกิดภาพขยับขึ้นมา
หน่วยความเร็วในการเล่นอนิเมชั่น
   สำหรับหน่วยอัตราความเร็วในการ เล่นอนิเมชั่นนั้น (Frame rate) เราจะวัดออกมาเป็นค่า เฟรม ต่อ วินาที (Frame per second) โดยเรียกสั้นๆว่า ค่า fps  โดยในโปรแกรม flash นั้น เราสามารถปรับค่า fps ได้โดยการคลิกบน Stage แล้วปรับค่าที่พาเนล properties ตรงช่องที่เขียนว่า fps





(  แหล่งที่มา:http://th.wikipedia.org/     )
(รูปภาพ: http://picpost.mthai.com/view/34599 )